วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กศน.ทรายทองวัฒนา






                                                    กิจกรรม  กศน.ทรายทองวัฒนา

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร


              
           ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอทุ่งทราย ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอทุ่งทราย  เมื่อวันที่  ๒๗  สิงหาคม  ๒๕๓๖  ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อจากกิ่งอำเภอทุ่งทรายเป็น
กิ่งอำเภอทรายทองวัฒนา ในขณะนั้นใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอทรายทองวัฒนาเป็นสำนักงาน ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายทองวัฒนา ได้ใช้อาคารที่ต่อเติมจากอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอทรายทองวัฒนาเป็นอาคารที่ทำการในการให้บริการ/บริหารกิจการของสถานศึกษา โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรนักศึกษา ในการบริการทางการศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายทองวัฒนาได้กำหนดให้มีการบริการทางการศึกษา ๔  ลักษณะ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและการศึกษาตามอัธยาศัย  ทั้งยังมีโครงการพิเศษนอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นตามโอกาส และที่ได้รับมอบหมาย
ปัจจุบันศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายทองวัฒนาได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทรายทองวัฒนาและได้ย้ายอาคารสำนักงานมาอยู่อาคารสำนักงานประถมศึกษาหลังเดิมอยู่ข้างที่ทำการอำเภอทรายทองวัฒนา เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ ในช่วงระยะเวลาของการดำเนินงานกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาตามวาระหลายครั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาคือ นางสาวจิรวรรณ จันทไชย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทรายทองวัฒนา ย้ายมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่วันที่   ๒๘ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๑ จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชรศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอทุ่งทราย ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอทุ่งทราย  เมื่อวันที่  ๒๗  สิงหาคม  ๒๕๓๖  ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อจากกิ่งอำเภอทุ่งทรายเป็นกิ่งอำเภอทรายทองวัฒนา ในขณะนั้นใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอทรายทองวัฒนาเป็นสำนักงาน ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายทองวัฒนา ได้ใช้อาคารที่ต่อเติมจากอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอทรายทองวัฒนาเป็นอาคารที่ทำการในการให้บริการ/บริหารกิจการของสถานศึกษา โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรนักศึกษา ในการบริการทางการศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายทองวัฒนาได้กำหนดให้มีการบริการทางการศึกษา ๔  ลักษณะ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและการศึกษาตามอัธยาศัย  ทั้งยังมีโครงการพิเศษนอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นตามโอกาส และที่ได้รับมอบหมาย
             ปัจจุบันศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายทองวัฒนาได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทรายทองวัฒนาและได้ย้ายอาคารสำนักงานมาอยู่อาคารสำนักงานประถมศึกษาหลังเดิมอยู่ข้างที่ทำการอำเภอทรายทองวัฒนา เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ ในช่วงระยะเวลาของการดำเนินงานกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาตามวาระหลายครั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาคือ นางสาวจิรวรรณ จันทไชย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทรายทองวัฒนา ย้ายมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่วันที่   ๒๘ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๑ จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร



NF12 สุดยอด กศน. ภาคเหนือ - จ.อุทัยธานี





วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร

ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร


ประวัติความเป็นมา  จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูก กล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็นพืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปี หนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ “กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้น มาทันที และทำให้กำ แพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า “เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประ เทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวน กล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มา ปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำ นวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร 


        วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการ ทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรม ของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่ โดยยึดแนวคตินิยมทางพื้นฐานพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธนิยมทำบุญเดือน 10 หรือ “สารทไทย”
        สำหรับชาวกำแพงเพชรที่ฟื้นฟูประเพณีโบราณ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริม การขายกล้วยไข่ของตนในฤดูกาลนี้ ก็เพราะกล้วยไข่มีผลผลิตออกชุกในช่วง เดือนกันยายนนี้พอดี ประกอบกับผลไม้อื่นๆ ในช่วงนี้ไม่มีออกด้วยเมื่อมีงานบุญ ใดๆ ก็ตามจึงต้องมีผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของหวาน และของหวาน และของหวานที่ นิยมทำกันในงานสารทไทยนี้ก็คือ “กระยาสารท” รสชาติค่อนข้างหวานจัดจึง ต้องรับประทานกับกล้วยไข่เป็น “เครื่องเคียง” ที่สำคัญมาก“งานสารทไทยกล้วย ไข่เมืองกำแพง” จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2524 จากพื้นฐานของ งานประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยในอดีต สอดคล้องกับการมีผลผลิตมากมายในท้องถิ่น จึงเป็นจุดเด่นของ งานประเพณีนี้


         งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง เริ่มจัดขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 26 - 27 กันยายน พ.ศ.2524 ในสมัย นายจำนง ยังเทียน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มีชื่อว่างาน "วันกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมี นายศรี ศรีนนท์ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเพชร, นายถนอม ภู่ทองคำ เกษตรอำเภอคลองลาน, สื่อมวลชนจังหวัดกำแพงเพชร และ นายคะเณย์ เพิ่มทรัพย์ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น เป็นผู้เสนอโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการขายกล้วยไข่ เพราะช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมเป็นช่วงที่มีผลผลิตออกมากที่สุดกิจกรรม ในงานประกอบด้วยการทำบุญการทำบุญตักบาตร การประกวดขบวนรถที่ตกแต่งด้วยกล้วยไข่เป็นหลัก ประกวดธิดากล้วยไข่, การประกวดกล้วยไข่, การจำหน่ายกล้วยไข่, การแข่งกวนกระยาสารท







           เพื่อให้การ จัดงานเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จังหวัดกำแพงเพชรจึงได้ประสานงานกับการท่องเที่ยวแห่งประ เทศไทยร่วมกันจัดงาน การแสดงแสงเสียงในโบราณสถานบริเวณวัดมหาธาตุ และ วัดพระแก้ว ต่อมาในปี 2526 มีการ เปลี่ยนชื่องานจากงาน "วันกล้วยไข่เมืองกำแพง" เป็นงาน " วันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำ แพง"เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมศาสนา เนื่องจากในช่วงเดือน กันยายนถึงตุลาคม ชาวพุทธจะนิยมทำ บุญเดือน 10 หรือที่ เรียกว่า "สารทไทย" ซึ่งเป็นงานที่ ทำกันในช่วง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10ตามจันทรคติ ในช่วงดังกล่าวผลไม้ชนิดอื่นๆ ไม่ค่อยมีเมื่อมีงานบุญต่างที่มีการทำบุญตักบาตรไม่ว่าจะเป็นงานสารทไทย ทอดผ้าป่า สลากภัต หรืองานบุญอื่น ก็จะใช้กล้วยไข่เป็นผลไม้และนิยมทำกระยาสารท เป็นของหวานต่อมา คณะกรรมการระดับจังหวัดได้กำหนดให้กล้วยไข่เป็นผลไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เพราะในแต่ละปีกล้วย ไข่ทำรายได้ให้จังหวัดกำแพงเพชร ประมาณ 200 - 300 ล้านบาท และงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ก็ได้จัดติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน








การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก


เรื่องที่ 4 การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก

        ปัจจุบันการหาแหล่งหรือนำวิดีโอมาใช้งานบนบล็อกสามารถดำเนินการได้ 5 รูปแบบ
1.  Upload : ดำเนินการ Upload จากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งเก็บ
2.   Form YouTube : การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
3.   Form YouTube videos : การแทรกไฟล์วิดีโอจากช่อง YouTube 
ที่เป็นสมาชิก
4.    Form your phone : การแทรกไฟล์วิดีโอจากโทรศัพท์ Smartphone
5.     Form your webcam : การแทรกไฟล์วิดีโอจากกล้องเว็บแคม




ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะ (2) การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
1. เลือกสร้างรายการบทความใหม่ หรือ จะแก้ไขเพิ่มเติมจากบทความเดิมที่มีอยู่ที่ตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์วิดีโอ
2. คลิกเลือกที่รายการ Form YouTube



3. ที่ช่อง Browse เลือกหา หรือนำ links URL รายการวิดีโอที่ได้พิมพ์วางในช่อง คลิกเพื่อนค้นหา


4.ทำการตรวจสอบก่อนการวางโดยทำการคลิกที่กรอบไฟล์วิดีโอ


5.หากถูกต้องคลิกที่ปุ่ม Select (สีฟ้า)
6.ไฟล์วิดีโอที่เลือกก็จะปรากฏในพื้นที่  ที่ท่านต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่มบันทึก และเผยแพร่ตามลำดับ

การวางภาพประกอบในบล็อก


เรื่องที่ 3 การวางภาพประกอบในบล็อก
ในการดำเนินการสร้างบทความหรือบทเรียนที่ดี โดยปกติจะมีการวางสื่อภาพประกอบเนื้อหา ซึ่ง Blogger สามารถดำเนินการได้โดยง่าย มีวิธีการดังนี้
1.ให้ไปที่ ตรงตำแหน่งบรรทัดที่ต้องการแทรกภาพประกอบ ให้ คลิกที่ปุ่ม แทรกภาพ

 2. เลือกไฟล์ โดยกดที่ปุ่ม Browse ไปที่แหล่งเก็บไฟล์ภาพ (Drive หรือ Folder หรือสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ)  สำหรับไฟล์ภาพ ควรเป็น ตระกูล JPG GIF PNG และขนาดของความกว้างไม่เกิน 600 Pixels ดังนั้นควรตกแต่งไฟล์ภาพที่จะ Upload ขึ้น Blog ทั้งหมดให้มีขนาดกว้างไม่เกิน 600 Pixels  นอกจากจะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดพอดีกับหน้าบล็อกแล้ว ยังจะช่วยให้การ Upload ไฟล์รูปภาพ รวมถึงการแสดงผลหน้าเอกสารบล็อก ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. เมื่อ Upload ไฟล์ภาพเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มเพิ่มรายการที่เลือก ภาพจะปรากฏ แต่จะมีขนาดเล็กสุด  ให้นำเมาล์ไปคลิกที่รูปภาพดังกล่าว จะเกิดเมนูให้เราสามารถเลือกขนาดของภาพ คือ เล็ก / ปานกลาง / ใหญ่ / ใหญ่พิเศษ และ ขนาดเดิม ดังนัันถ้ากำหนดขนาดของภาพไว้ที่ 600 Pixels เมื่อเราเลือกขนาดเดิม จะได้ภาพพอดี  นอกจากนั้น ที่เมนูดังกล่าว ยังสามารถปรับชิดซ้าย ขวา กึ่งกลาง หรือ ลบ รูปภาพออกได้

4. หลังจากตกแต่งขนาด และวางตำแหน่งภาพเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มบันทึก และ ปุ่มเผยแพร่ ตามลำดับ

ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก


เรื่องที่ 2 ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก
ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวันเวลา (archive) หรือค้นหาจากคำสำคัญ (tag) ได้
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ, วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ

ประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
1.เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อกเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ
ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์